“กอปภ.ก.” ประสาน 7 จังหวัดชายฝั่งภาคตะวันออก-ภาคใต้ เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ช่วงวันที่ 20 – 23 ก.ค. นี้

“กอปภ.ก.” ประสาน 7 จังหวัดชายฝั่งภาคตะวันออก-ภาคใต้ เฝ้าระวังคลื่นลมแรง ช่วงวันที่ 20 – 23 ก.ค. นี้

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 7 จังหวัดชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้ ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา และภูเก็ต เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์คลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นไปและอ่าวไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 20 – 23 ก.ค. 64 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปัจจัยสภาพความเสี่ยงในพื้นที่ และเฝ้าระวังสถานการณ์โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยพร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงการเดินเรือหากทะเลมีคลื่นสูงและมีกำลังแรง ส่วนเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะผู้อำนวยการกลาง กล่าวว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) ได้ติดตามสภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 5 (104/2564) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เวลา 11.00 น. แจ้งว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นไปและอ่าวไทยตอนบนทะเล มีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร กอปภ.ก.โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสาน 7 จังหวัดชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์คลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 20 – 23 กรกฎาคม 2564 แยกเป็น

ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ และอำเภอเกาะสีชัง) ระยอง (อำเภอเมืองระยอง อำเภอบ้านฉาง และอำเภอแกลง) จันทบุรี (อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอนายายอาม) และตราด (อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง)

ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ ระนอง (อำเภอเมืองระนอง อำเภอกะเปอร์ อำเภอสุขสำราญ) พังงา (อำเภอเกาะยาว อำเภอตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอคุระบุรี และอำเภอท้ายเหมือง) และภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง)

รวมถึงสั่งการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์คลื่นลมแรงในช่วงดังกล่าว โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ พร้อมวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและแนวโน้มสถานการณ์ภัย ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) รถปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย ประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมทรัพยากรให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณชายฝั่งทะเล ให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยพร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด พร้อมกำชับสถานประกอบการในพื้นที่ชายทะเลแจ้งนักท่องเที่ยวให้งดประกอบกิจกรรมทางทะเลในช่วงที่มีคลื่นลมแรง นอกจากนี้ ให้ประสานกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ และตำรวจน้ำแจ้งเตือนการเดินเรือให้เป็นไปตามมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังและงดการเดินเรือหากทะเลมีคลื่นสูงและมีกำลังแรง สำหรับเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” รวมถึงสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก

Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

จันทบุรี

จันทบุรี

น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี

Next Post

บทความ แนะนำ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.