คอลัมน์ ทะลุคน ทะลวงข่าว
เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด
ปธ.ศาลฎีกาหญิงคนที่ 2 – คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) มีมติตั้ง ปิยกุล บุญเพิ่ม ประธานศาลอุทธรณ์ ขึ้นเป็น ประธานศาลฎีกา คนที่ 47
เป็นประมุขตุลาการหญิงคนที่ 2 ต่อจาก เมทินี ชโลธร
มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้
ปิยกุล บุญเพิ่ม เกิด 28 ต.ค. 2499 อายุ 64 ปี
นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา
นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มรับราชการ ปี 2521 ตำแหน่งนิติกร
ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวงผู้พิพากษาศาลจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่น
ปี 2534 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดจันทบุรี และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง
ผู้พิพากษาศาลจังหวัดน่าน, ลำพูน และนครสวรรรค์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ปี 2542 ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง ปีเดียวกัน ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ปี 2549 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
ปี 2551 ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์ภาค 1
ปี 2553 รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1
ปี 2562 ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา
1 ต.ค. 2563 ประธานศาลอุทธรณ์
เคยเป็นองค์คณะพิจารณาคดีสำคัญได้เเก่ คดีอม. อธ. 3/2562 ชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ขายข้าวจีทูจี เฉพาะ สุธี เชื่อมไธสง เครือข่ายเสี่ยเปี๋ยง จำเลยที่ 16 ที่ให้ร่วมชดใช้ค่าเสียหายร่วมกันกว่า 2 หมื่นล้านบาท
คดีอม. อธ. 4/2562 ชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ชญาดา วิภัติภูมิประเทศ อดีตส.ก. ภรรยาของ พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย คดีบัญชีทรัพย์สิน
คดีอม. อธ. 5/2562 ชั้นพิจารณาอุทธรณ์ นาที รัชกิจประการ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย 2 สมัย ถูกกล่าวหาจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ
คดีอาญาของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมืองอีกหลายคดี
มีวาระการดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ของศาลยุติธรรม เป็นเวลา 1 ปี
ก.ต.ศาลยุติธรรม ลงมติเลือก พศวัจณ์ กนกนาก รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ประธานศาลอุทธรณ์
ถือเป็นประมุขศาลอุทธรณ์ และอาวุโสรองจากประธานศาลฎีกา
มีผลวันที่ 1 ต.ค.นี้เช่นกัน
พศวัจณ์ กนกนาก เกิด 8 ต.ค. 2499 อายุ 64 ปี
นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ปริญญาโทนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ปริญญาเอกสาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปี 2525 เริ่มรับราชการ ตำแหน่งผู้ช่วย ผู้พิพากษา
ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้พิพากษาประจำกระทรวง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย ผู้พิพากษาศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนฯ จ.เชียงใหม่
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่งธนบุรี ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ปี 2551 ประธานแผนกคดีเยาวชนฯ ในศาลอุทธรณ์ ภาค 2
ปี 2554 ผู้พิพากษาศาลฎีกา
ปี 2556 อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ปี 2562 ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา
ปี 2563 รองประธานศาลฎีกา
ล่าสุด ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานศาลอุทธรณ์ ถือเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด และมีความเหมาะสม เนื่องจากผ่านงานตำแหน่ง สำคัญๆ มาตลอด
นุจรินทร์ จันทร์พรายศรี
ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ขยับขึ้น รองประธานศาลฎีกา
ผู้หญิงหนึ่งเดียวในตำแหน่ง รองประธานศาลฎีกา ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ทั้งหมด 5 คน
คู่ชีวิต ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี กกต.
นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายเนติบัณฑิตไทย
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
รับราชการตุลาการ เริ่มจากผู้ช่วยผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเบตงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ภาค 4 อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 5 รองประธาน ศาลอุทธรณ์
แล้วเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 7 และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
เป็นกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ประจำศาลชั้นต้น ก.ต. ประจำศาลอุทธรณ์ และ ก.บ.ศ. ประจำชั้นศาลฎีกา
ก.ค. 2563 ขึ้นประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็น ก.ต.ที่ได้รับเลือกคะเเนนสูงอันดับ 1
ก.ต.ยังมีมติแต่งตั้ง จีระพัฒน์ พันธุ์ทวี หัวหน้าคณะศาลอุทธรณ์ นั่ง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนใหม่
ดำรงตำแหน่งแทน พงษ์เดช วานิชกิตติกูล ซึ่งขอลงจากตำเเหน่ง ไปเป็นข้าราชการตุลาการตามเดิม
จีระพัฒน์ พันธุ์ทวี เกิด 4 ก.พ. 2507 อายุ 57 ปี
นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
เริ่มรับราชการ ปี 2533 ตำแหน่งผู้พิพากษา เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้พิพากษาศาลจังหวัดกาญจนบุรี
เลขานุการสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 7 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
ผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ปี 2547 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา
ปี 2549 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญากรุงเทพใต้ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ปี 2558 เลขานุการศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงาน ภาค 6
ปี 2563 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ (หน.อุทธรณ์)