กรมอนามัยเผยพบติดเชื้อในตลาดกว่า 1.4 ราย 132 แห่ง ใน 23 จ. ระบุเป็นตลาดที่ไม่ประเมินมาตรการป้องกันโรคถึง 70 % เร่งยกระดับมาตรการแพร่เชื้อในตลาด เน้น 3 เรื่องสำคัญ กำชับเตรียมสถานที่แยกกักกรณีพบผู้ติดเชื้อ
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 23 ส.ค. 2564 ในการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด 19 ประเด็น “มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด 19 ในตลาด” นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด 19เป็นกลุ่มก้อนจะเกิดในสถานที่ที่มีผู้คนมารวมกลุ่มกัน ใกล้ชิดกัน และแออัด ซึ่งตลาดเป็นบริบทหนึ่งที่ผู้คนมาจากหลากหลายที่ และมีกิจกรรมที่เอื้อต่อการแพร่ระบาด
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในตลาด โดยจำนวนผู้ติดเชื้อตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2564 พบ14,678 ราย ในตลาด 132 แห่ง ครอบคลุม 23 จังหวัด แยกเป็นจ.มหาสารคาม 217 ราย ตลาด 1 แห่ง ขอนแก่น 15 ราย 1 แห่ง นครราชสีมา 230 ราย 1 แห่ง สระบุรี 111ราย 3 แห่ง อยุธยา 61 ราย 2 แห่ง และนครปฐม 127 ราย 4 แห่ง
ราชบุรี 606 ราย 1 แห่ง สมุทรสาคร 21 ราย 2 แห่ง กาญจนบุรี 7 ราย 1 แห่ง เพชรบุรี 19 ราย 2 แห่ง ประจวบคีรีขันธ์ 84 ราย 1 แห่ง นครศรีธรรมราช 154 ราย 3 แห่ง สุราษฎร์ธานี 13 ราย 1 แห่ง สงขลา 309 ราย 7 แห่ง กระบี่ 6 ราย 1 แห่ง ปทุมธานี 5,286 ราย 4 แห่ง นนทบุรี 724 ราย 7 แห่ง สมุท…669 ราย 5 แห่ง ชลบุรี 722 ราย 5 แห่ง สระแก้ว 977 ราย 6 แห่ง ระยอง 73 ราย 2 แห่ง จันทบุรี 154 ราย 4 แห่ง และกทม. 4,093 ราย 68 แห่ง ทั้งนี้ ตลาดที่พบผู้ติดเชื้อนี้เป็นตลาดที่ผ่านประเมิน 25% ไม่ผ่านประเมิน 5 % และไม่ได้ประเมินตนเอง 70 % บนแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID-19
“ตลาดเป็นสถานที่ซึ่งมีผู้คนจากหลากหลายกลุ่มเข้ามามีกิจกรรมทางการค้าหรืออื่นๆ จึงมีความเสี่ยงต่อการระบาดโควิด จากปัจจัยด้านคน สถานที่และระบบบริหารจัดการ ที่เป็นไปตามลักษณะของตลาด สถานที่ตั้งว่าอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดหรือไม่ และผู้คนทำงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคในตลาดจะทำใน 2 ลักษณะ คือ การตลาดที่ยังไม่พบการติดเชื้อหรือแพร่ระบาด จะเน้นการปฏิบัติตามาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด และควบคู่กับการเฝ้าระวังความเสี่ย หากเมื่อใดพบผู้ติดเชื้อหรือแพร่ระบาด ก็ต้องทำตามแผนเผชิญเหตุที่มีการสื่อสารแล้วว่าตลาดทุกแห่งร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำไว้ และบางตลาดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากสามารถที่จะประยุกต์หลักการบับเบิลแอนด์ซีลได้ “นพ.สุวรรณชัยกล่าว
นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า จำเป็นต้องการยกระดับมาตรการป้องกันโควิด 19 ในตลาดเพื่อสสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและป้องกันการเกิดระบาดกลุ่มก้อนในตลาดหรือไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยต้องดำเนินการ 3 ด้าน ประกอบด้วย ป้องกันคน เน้นกลุ่มเป้าหมาย ผู้ค้า ลูกจ้าง แรงงานที่เดินทางเข้าออก ผู้อยู่อาศัย ผู้ประกอบการอื่นที่อยู่โดยรอบ ผู้ซื้อ และผู้เดินทางที่เข้าใช้บริการทุกคน ซึ่งมาตรการหลักในแง่ของการคัดกรอง อาการสงสัยการติดเชื้อ ประวัติเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง ควบคู่กับมาตรการเสริม ตรวจด้วยเอทีเค ทุกสัปดาห์ ทุกคนตามความพร้อม หรือสุ่มตรวจ 10 % มีหลักฐานแสดงก่อนเข้าตลาดว่าตรวจมาไม่เกิน 7 วัน หรือฉีดวัคซีน 2 เข็มมีหลักฐานแสดงก่อนเข้าว่าไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือเคยติดเชื้อหรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง มีหลักฐานแสดงก่อนเข้าว่าแยกกัก/กักกัน ไม่น้อยกว่า 14 วัน
ป้องกันสถานที่(ตลาด) คือ 1.ประเมินการปฏิบัติตามแนวทางด้วย Thai stop covid plus พร้อมปรับปรุง 2.จัดจุดเข้า–ออก ทางเดียวหรือน้อยลง พร้อมตรวจคัดกรองคนทุกคน คือ มีการคัดกรองอาการไข้ อาการทางเดินหายใจ ซักประวัติเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง หลักฐานการตรวจ การฉีดวัคซีน หรือการถูกแยกกักหรือกักกันมาแล้ว 14 วัน 3.จัดควบคุมกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโดยเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้เป็นจุดอ่อนมาตลอด เพราะพบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดมักจะปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคได้น้อย 4.จัดระบบสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ไม่แออัด เว้นระยะห่าง มีการระบายอากาศที่ดี ทำความสะอาดทำลายเชื้อทุกวัน โดยบริเวณพื้นผิวสัมผัสทุก 1 ชั่วโมงหรือบ่อยขึ้น และ 5.จัดระบบเพื่อลดกิจกรรมสัมผัสใกล้ชิด ห้ามรวมกลุ่มพูดคุยหรือมีกิจกรรมเสี่ยง ทานอาหารแต่ละคนในพื้นที่ที่จัดให้ มีการใช้วิธีจ่ายเงินแบบดิจิทัล หรือมีระบบอื่นที่ลดการสัมผัสสิ่งของระหว่างกัน
และจัดการระบบเฝ้าระวังควบคุมโรค ได้แก่ 1.สุ่มเฝ้าระวังเชิงรุก ตามลักษณะตลาด ตรวจคนและตรวจสิ่งแวดล้อม ทั้งพื้นผิว ผลิตภัณฑ์ น้ำเสีย มีแผนดเผชิญเหตุ พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบและซ้อมแผน จัดเตรียมรพ.สนามหรือสถานที่แยกกัก/กักกันรองรับกรณีพบผู้ติดเชื้อ หรือพบผู้มีผลตรวจเอทีเคเป็นบวก และประยุกต์การควบคุมกลุ่มและการเดินทางไปกลับของคนในตลาด ตามบริบทของตลาและพื้นที่ เป็นลักษณะกลุ่มตามการทำงานหรือกิจกรรมการค้า ครอบคลุมการเดินทางและที่พัก
“การไปตลาดจะต้องพกเจลแอลกอฮอล์ไปด้วยทุกครั้งเพื่อใช้ล้างมือบ่อยๆมีการสัมผัสสิ่งต่างๆ รวมถึง ใส่หน้ากากตลอดเวลาและหากเป็นไปได้ให้สวม 2 ชั้น ด้านในเป็นหน้ากากอนามัย ด้านนอกเป็นหน้ากาก เน้นหน้ากากที่มีความกระชับ เพื่อป้องกันเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญ อย่าเผลอถอดหน้ากาก หรือนำมือที่ยังไม่ได้ล้างด้วยแจลแอลกอฮอล์มาสัมผัสบริเวณใบหน้า นอกจากนี้ การสัมผัสวัสดุ ภาชนะที่ใส่ข้าวของร่วมกันซึ่งผ่านมือหลายคน จึงต้องวางแผนและมุ่งไปซื้อที่วางแผนไว้ ไม่สามารถปฏิบัติได้แบบเดิมที่ไปหยิบจับต่อรองราคา ส่วนผู้ค้าต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อลดโอกาสการสัมผัสมากขึ้น และโอกาสคนมาสัมผัสกันหลายจุด”นพ.สุวรรณชัยกล่าว